วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ข้อสอบ O-NET

ข้อสอบ O-NET

1.ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้บนอุปกรณ์พกพาประเภท Smartphone.
1.  Ubumtu      
2.  Iphone  os
3.  Android      
4.  Symbian

2. หากมีคอมพิวเตอร์อยู่แล้วอุปกรณ์ข้อใดจำเป็นต้องใช้ในการติดตั้งอินเตอร์เน็ต
ก. CD-ROM, คู่สายโทรศัพท์
ข. Modem, คู่สายโทรศัพท์
ค. CD-ROM, Scanner
ง. Modem, Scanner

3.ลิขสิทธิ์โปรแกรมประเภทรหัสเปิด (Open Source) อนุญาตให้ผู้ใช้ทำอะไรได้บ้าง
ก.  นำโปรแกรมมาใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
ข.  ทดลองใช้โปรแกรมก่อนถ้าพอใจจึงจ่ายค่าลิขสิทธิ์
ค.  แก้ไขปรับปรุงโปรแกรมเองได้
1.  ข้อ  ก กับ  ข้อ       
2.  ข้อ    กับ  ข้อ 
3.  ข้อ    อย่างเดียว    
4.  ข้อ    อย่างเดียว

4.ระบบกระดานสนทนาหรือเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งมีความต้องการดังนี้
ก.  ต้องให้ผู้ใช้สามารถตั้งกระทู้โต้ตอบกันได้โดยผู้ใช้ต้องแสดงตัวตน(ล็อกอิน)เพื่อเข้าระบบก่อน
ข.  ผู้ใช้สามารถตั้งกระทู้หรือเข้าไปตอบกระทู้ที่ตั้งไว้แล้วได้
ค.  ระบบจะบันทึกชื่อผู้ตั้งและผู้ตอบไว้ด้วย
ในการออกแบบฐานข้อมูลดังกล่าวข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง.
1.  ต้องสร้างตารางผู้ใช้ ตารางกระทู้และตารางคำตอบ
2.  ไม่ต้องสร้างตารางผู้ใช้เนื่องจากสามารถบันทึกชื่อผู้ใช้ในตารางกระทู้และตารางคำตอบได้เลย
3.  ต้องสร้างตารางผู้ใช้และตารางกระทู้ส่วนคำตอบจะอยู่ในตารางกระทู้อยู่แล้ว
4.  ไม่ต้องสร้างตารางกระทู้เพราะสามารถบันทึกกระทู้ที่ผู้ใช้ตั้งในตารางผู้ใช้ได้เลย

5. ข้อใดเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเมื่อค้นคว้าหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาทำรายงาน.
1.  คัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์
2.  ใช้เนื้อหาจากกระดานสนทนา(Web board)มาใส่ในรายงาน
3.  นำรูปภาพจากเว็บไซต์มาใส่ในรายงาน
4.  อ้างอิงชื่อผู้เขียนบทความ


6.ห้องสมุดแห่งหนึ่งต้องการพัฒนาระบบยืมหนังสือโดยสามารถบันทึกข้อมูลการยืมหนังสือลงบนบัตรอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องเขียนด้วยมือระบบนี้ควรใช้เทคโนโลยีในข้อใด
1.  Smart  Card         
2.  Fingerprint
3.  Barcode                
4.  WiFi

7.ผู้ประกอบอาชีพเป็นผู้พัฒนาเว็บไซต์ต้องเชี่ยวชาญความรู้ด้านใดบ้างจากตัวเลือกต่อไปนี้.
ก.  ฮาร์แวร์คอมพิวเตอร์                  ข.  ระบบปฎิบัติการ
ค.  เว็บเซิร์ฟเวอร์                          ง.  HTML
จ.  ระบบฐานข้อมูล                      ฉ.  ภาษาจาวา (Java)
1.  ข้อ  ก และ ค                    
2.  ข้อ    และ 
3.  ข้อ    และ                    
4.  ข้อ    และ 

8.ข้อใดเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อข้อมูลไร้สายทั้งหมด.
1.  Wi-Fi  ,  IP             
2.  Wi-Fi  ,Bluetooth
3.  3G  ADSL                
4.  3G    Ethernet

9.ข้อใดไม่ใช่ข้อเสียของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์.
1.  การทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์มีความผิดทางอาญา
2.  เป็นช่องทางหนึ่งในการระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์
3.  ผู้ใช้จะไม่ได้รับการบริการจากผู้พัฒนาถ้าหากมีปัญหาการใช้งาน
4.  ทำให้ผู้พัฒนาซอฟแวร์ไม่มีรายได้เพื่อประกอบการและพัฒนาต่อไปได้

10. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด.
1.  การบันทึกข้อมูลลงแผ่นดีวีดีใช้เทคโนโลยีแบบแม่เหล็ก
2.  หมายเลขไอพีเป็นหมายเลขที่ใช้กำกับ  Network Interce Card
3.  หน่วยความจำสำรองเป็นหน่วยความจำที่มีคุณลักษณะแบบ Volntile
4.  รหัส ACIIและEBCIDICเป็นการวางรหัสตัวอักษรที่ใช้ขนาด  8 บิต

(ที่มา : http://www.konsorb.com/news_detail.php?news=488)

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

String Functions

String Functions
การใช้สตริง (String) ภาษา php มีกาารสร้างฟังก์ชันสำหรับการทำงานกับสตริงโดยทั่วไปมีความจำเป็นอย่างมาก ที่ผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้เพราะจะต้องนำไปให้เป็นส่วนประกอบ ในการสร้าง Web Application ขอแสดงตัวอย่างรายละเอียดดังนี้
addslahes() จะทำการเพิ่มเครื่องหมาย \ (Back Slashes) ให้กับ String ที่มีสัญลักษณ์ ('), ("), (\) ดังตัวอย่าง เช่น
<?
$data = "It 's Home.";
echo addslashes($data);
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือ It \'s Home.

chr() เป็นฟังก์ชั่นในการแปลงค่าตัวเลข ASCII กลับมาเป็นตัวอักษร เช่น
<?
$data = "65";
echo chr($data);
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือตัวอักษร A

echo() ใช้ในการแสดงข้อความ สามารถแสดงได้หลายบรรทัด และสามารถใช้รหัสคอบคุม String ได้ด้วย ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้
<?
echo "Hellow Member \n";
echo "My name is Diaw";
echo "I Design and Create
ASPThai.Net";
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือข้อความ Hellow Member My name is Diaw I Design and Create ASPThai.Net
ข้อสังเกตุ สำหรับคำสั่ง \n เป็นคำสั่งสำหรับขึ้นบรรทัดใหม่ แต่จะใช้กับ HTML Code ดังนั้ถ้าต้องการให้ข้อความขึ้นบรรทัดใหม่ให้ใช้คำสั่ง <br>

explode() ใช้ในการแบ่ง String โดยต้องกำหนดอักขระที่ใช้แบ่ง เมื่อแบ่งเสร็จแล้วค่า String ที่ถูกแบ่งย่อยจะเก็บอยู่ในตัวแปรอาเรย์ เช่น
<?
$a = "A B C D E F";
&b = explode(" ", $a);
echo "$b[0], $b[1]";
?>
ใน ตัวอย่างนี้ String ที่กำหนดจะถูกแบ่งด้วยช่องว่าง โดยดูจากฟังก์ชั่น explode ค่ากำหนดแรกคืออักขระที่ใช้แบ่ง (" ") ค่ากำหนดที่ 2 คือ String ที่จะนำมาแบ่ง ($a) สุดท้าย String ที่แบ่งเรียบร้อยแล้วจะเก็บ ในอาเรย์ $b เพราะฉะนั้นผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราดูจาก Browser คือ A, B

htmlspecialchars() ใช้ในกรณีที่ต้องการแสดงแท็ก HTML บน Browser เช่น
<?
$a = "<B>ASPThai.Net</B>";
print htmlspecialchars($a)
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือ <B>ASPThai.Net</B> ทำให้เวลาดูจาก Browser แทนที่จะเป็นตัวหนา กลับแสดงเป็นข้อความ HTML แทน

print() ใช้ในการแสดงข้อความ คล้ายกับคำสั่ง echo() 
sprintf() ใช้ในการแสดงข้อความแต่สามารถกำหนดรูปแบบได้ เช่น
<?
$a = 108.75;
$b = 14.15;
$total = $a + $b;
$f = sprintf ("%01.2f", $total);
print $total;
print "<BR>";
print $total;
?>
จากตัวอย่างเป็นการกำหนดให้แสดงทศนิยม 2 ตำแหน่ง

strlen() ใช้ในการจำนวนอักขระทั้งหมดใน String เช่น
<?
$a = "ASPThai.Net";
print strlen($a);
?>
ซึ่งมีค่าเท่ากับ 11

strpos() ใช้ในการหาตำแหน่งของ String โดยที่ตำแหน่งแรกคือ 0 เช่น
<?
$a = "ASPThai.Net";
print strpos($a, "Net");
?>
จะได้ผลลัพธ์คือ 8

strrev() ใช้ในการสลับตำแหน่ง String จากหลังมาหน้า เช่น
<?
$a = "ASPThai.Net";
print strrev($a);
?>
จะได้ผลลัพธ์คือ teN.iahTPSA

strstr() ใช้ในการค้นหาคำใน String เช่น
<?
$a = "ASPThai.Net All in site for You";
$word = "All";
if(strstr($a,$word))
{ echo "Found."; }
else { echo "Not Found."; }
?>
จากตัวอย่างถ้าค้นพบคำที่ค้นหาจะแสดงคำว่า Found. แต่ถ้าไม่พบจะแสดงคำว่า Not Found.

strtolower() ใช้ในการเปลี่ยน String ให้เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด
<?
$a = "ASPThai.Net All in site for You";
echo strtolower($a);
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือ aspthai.net all in site for you

strtoupper() ใช้ในการเปลี่ยน String ให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
<?
$a = "ASPThai.Net All in site for You";
echo strtoupper($a);
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือ ASPTHAI.NET ALL IN SITE FOR YOU

str_replace() ใช้ในการค้นหาและแทนที่ String เช่น
<?
$a = "ASPThai.Net All in site for You";
$b = str_relpace("for", "to", $a);
echo $b;
?>
จากตัวอย่างเป็นการค้นหาคำว่า for แล้วเปลี่ยนเป็นคำว่า to
ผลลัพธ์ที่ได้คือ ASPThai.Net All in site to You

trim() ใช้ในการตัดช่องว่างทั้งหน้าและหลัง String เช่น
<?
$a = " ASPThai.Net All in site for You ";
$b = trim($a);
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือ ตัวแปร $b จะเก็บคำว่า "ASPThai.Net All in site for You" โดยไม่มีช่องว่างทั้งหน้าและหลัง

ucfirst() ใช้ในการเปลี่ยนตัวอักษรตัวแรกให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่
<?
$a = "what are you doing?";
echo ucfirst($a);
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือ Whai are you doing?

ucwords() ใช้ในการเปลี่ยนตัวอักษรตัวแรกของทุกคำให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่
<?
$a = "what are you doing?";
echo ucwords($a);
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือ Whai Are You Doing?


ฟังก์ชันเกี่ยวกับอะเรย์

ฟังก์ชันเกี่ยวกับอะเรย์
§  ฟังก์ชัน sort เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการเรียงลำดับรายการข้อมูลในอะเรย์ โดยเรียงข้อมูลจากค่าน้อยไปหาค่ามาก

§  ฟังก์ชัน asort เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการเรียงลำดับรายการข้อมูลในอะเรย์แบบคู่ โดยเรียงข้อมูลของ value จากค่าน้อยไปหาค่ามาก

§  ฟังก์ชัน ksort เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการเรียงลำดับรายการข้อมูลในอะเรย์แบบคู่ โดยจัดเรียงข้อมูลของ key จากค่าน้อยไปหาค่มาก

§  ฟังก์ชัน max ใช้ในการหาค่า maximum ของ value ในอะเรย์
§  ฟังก์ชัน min ใช้ในการหาค่า minimum ของ value ในอะเรย์
§  ฟังก์ชัน count ใช้ในการนับจำนวนอะเรย์ว่ามีทั้งหมดเท่าไหร่

§  ฟังก์ชัน current ใช้ดึง value ของอะเรย์ที่ pointer ชี้อยู่ หากเป็นการ Initialize Array ตัว pointer จะอยู่ที่ Array 0
§  ฟังก์ชัน next ใช้เลื่อน pointer ในอะเรย์ไปข้างหน้าจำนวน 1 ช่อง
§  ฟังก์ชัน prev ใช้เลื่อน pointer ในอะเรย์ถอยหลังจำนวน 1 ช่อง

§  ฟังก์ชัน each ใช้ดึงค่าของอะเรย์ที่ pointer ชี้อยู่แล้วเลื่อน pointer ในอะเรย์ไปจำนวน 1 ช่อง ค่าที่ดึงออกมาจะเป็นอะเรย์เช่นกัน

§  ฟังก์ชัน end ใช้เลื่อน pointer ในอะเรย์ไปลำดับสุดท้าย

§  ฟังก์ชัน key ใช้ดึง key ของอะเรย์ที่ pointer ชี้อยู่

§  ฟังก์ชัน reset เป็นคำสั่งให้เริ่มต้น pointer ใหม่

§  ฟังก์ชัน list ใช้ในการรับค่าที่อ่านมาได้จากอะเรย์โดยจำนวนของตัวแปร (var 1, var2,…) ที่ตั้งรับในคำสั่งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดอะเรย์ที่ส่งค่ามาให้ว่าอะเรย์นั้นส่งค่าข้อมูลมาให้จำนวนกี่ค่า

§  ฟังก์ชัน print_r ใช้ในการแสดงค่าอะเรย์ทั้งหมด


(ที่มา : www.spu.ac.th/sdm/files/2012/07/Lecture-4.pdf)


วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อะเรย์ (Array)

อะเรย์ (Array)
§  อะเรย์หรือตัวแปรชุด คือ ตัวแปรที่สามารถเก็บค่าได้หลายๆค่า โดยใช้ตัวแปรตัวเดียว
§  สิ่งที่อยู่ภายในอะเรย์เรียกว่าสมาชิก
§  แต่ละสมาชิกในอะเรย์จะมีอินเด็กซ์เพื่อใช้อ้างอิง
§  ใน PHP อินเด็กซ์จะเริ่มที่ 0 แต่สามารถกำหนดอินเด็กซ์ให้เป็นตัวอักษรได้

§  ข้อมูลแต่ละตัวในอะเรย์ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน เช่น อาจจะมีทั้งจำนวนเต็ม เลขทศนิยม ตัวอักษร

§  ใน PHP อะเรย์ที่มีขนาดเปลี่ยนแปลงได้เรียกว่า dynamic array หรือ vector (สำหรับอะเรย์มิติเดียว)
§  ไม่จำเป็นต้องประกาศตัวแปร
§  ค่าของอะเรย์จะถูกกำหนดให้ตอนที่โปรแกรมทำงาน (Run time)

§  การสร้างอะเรย์โดยใช้ฟังก์ชัน array และการเปรียบเทียบการใช้ For และ Foreach

§  การสร้างอะเรย์โดยใช้ฟังก์ชัน array range (int low, int high)

§  การนำข้อมูลจาก Text file มาเก็บไว้ในอะเรย์
§  ข้อมูลที่เก็บในแต่ละบรรทัด คือ ข้อมูลในแต่ละ Element

§  หากต้องการแสดงข้อความให้ถูกต้องจำเป็นต้อง convert special character ก่อนการ display HTML โดยใช้ฟังก์ชัน htmlspecialchars

การใช้อะเรย์หลายมิติ (Multidimensional Array)
§  กำหนดชื่อตัวแปรแล้วตามด้วยเครื่องหมาย […][…] สำหรับอะเรย์สองมิติ และ […] […][…] สำหรับอะเรย์สามมิติ
$arr_2[1][1]=4000;           //$arr_2 เป็นอะเรย์สองมิติ
$arr_3[1][1][1]=2000;     //$arr_3 เป็นอะเรย์สองมิติ

อะเรย์แบบคู่ (Key/Value)
§  การเก็บข้อมูลในอะเรย์แบบนี้จะใช้กับข้อมูลที่จัดเก็บเป็นคู่ๆ

§  อะเรย์แบบคู่ (Key/Value) ประเภท 2 มิติ

§  ถ้าต้องการจะเข้าถึงข้อมูลแต่ละคู่ที่ถูกเก็บอยู่ในอะเรย์แบบคู่ จะใช้วิธีเรียกผ่านฟังก์ชัน each() และ list()

§  จะเข้าถึงข้อมูลแต่ละคู่ที่ถูกเก็บอยู่ในอะเรย์แบบคู่สามารถทำได้อีกวิธีคือ การใช้คำสั่ง foreach

(ที่มา : www.spu.ac.th/sdm/files/2012/07/Lecture-4.pdf)

ฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาเอง

ฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาเอง
                ผู้ใช้สามารถสร้างฟังก์ชันขึ้นมาใหม่ทำได้โดยง่าย โดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐาน ตัวแปร ค่าคงที่ โอเปอเรเตอร์ และการควบคุมโปรแกรมที่กล่าวมาแล้ว มาใช้ในการสร้างฟังก์ชัน สำหรับฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาเอง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ
§  ฟังก์ชันที่ไม่มีการส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน
ฟังก์ชันแบบนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดชื่อ ขั้นตอนการทำงานของฟังก์ชันไว้ที่ต้นของโปรแกรมก่อน หลังจากนั้นสามารถเรียกใช้งานได้ทันที รูปแบบการสร้างฟังก์ชันมีดังนี้


§  ฟังก์ชันที่มีการส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน
ฟังก์ชันแบบนี้จะมีการรับค่าเพื่อนำไปคำนวณภายในฟังก์ชันจนได้ผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ภายในฟังก์ชันเป็นการใช้โครงสร้าง ตัวแปร โอเปอเรเตอร์ อื่นๆ รูปแบบการกำหนดฟังก์ชันจะเป็นดังนี้



การใช้ static ในฟังก์ชัน

การผ่านค่าตัวแปลแบบ reference ในฟังก์ชัน

การนำค่านอกฟังก์ชันมาใช้โดยใช้คำสั่ง global

(ที่มา : www.spu.ac.th/sdm/files/2012/07/Lecture-4.pdf)