วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

ชนิดของเครือข่าย

ชนิดของเครือข่าย

เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกตามสภาพการเชื่อมโยงได้ 2 ชนิด 

1.เครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN)
หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่นเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่ บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน  เช่น ภายในอาคาร  หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก  เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็นเครือข่ายเฉพาะขององค์การ  การสร้างเครือข่ายแลนนี้องค์การสามารถดำเนินการทำเองได้  โดยวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือภายในพื้นที่ของตนเอง  เครือข่ายแลน มีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปภายในห้องเดียวกันจนเชื่อมโยงระหว่างห้อง หรือองค์การขนาดใหญ่เช่นมหาวิทยาลัย มีการวางเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างอาคารภายในมหาวิทยาลัย เครือข่ายแลนจึงเป็นเครือข่ายที่รับผิดชอบโดยองค์การที่เป็นเจ้าของ ลักษณะสำคัญของเครือข่ายแลน  คืออุปกรณ์ที่ประกอบภายในเครือข่ายสามารถรับส่งสัญญาณกันด้วยความเร็วสูงมาก  โดยทั่วไปมีความเร็วตั้งแต่ หลายสิบล้านบิตต่อวินาที จนถึงร้อยล้านบิตต่อวินาที   การสื่อสารในระยะใกล้จะมีความเร็วในการสื่อสารสูง ทำให้การรับส่งข้อมูลมีความผิดพลาดน้อยและสามารถรับส่งข้อมูลจำนวนมากในเวลาจำกัดได้



2.เครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะไกล  เช่น  เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด  ระหว่างประเทศ  การสร้างเครือข่ายระยะไกล จึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ  เช่น สายวงจรเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยหรือจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย   ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม  ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้บริการแบบสาธารณะ   เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่าย ที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น  ธนาคารมีสาขาทั่วประเทศ มีบริการ รับฝากเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม  เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารจึงไม่สูง เนื่องจาก มีสัญญาณรบกวนในสาย และการเชื่อมโยงระยะไกลจำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษในการลดปัญหาข้อผิดพลาดของ การรับส่งข้อมูล      เครือข่ายแวน เป็นเครือข่ายที่ทำให้เครือข่ายแลนหลายๆ เครือข่ายเชื่อมถึงกันได้เช่นที่ทำการสาขาทุกแห่ง ของธนาคารแห่งหนึ่งมีเครือข่ายแลนเพื่อใช้ทำงานภายในสาขานั้นๆ  และมีการเชื่อมโยงเครือข่ายแลน ของทุกสาขาให้เป็นระบบเดียวด้วย
เครือข่ายแวน
ในอนาคตอันใกล้นี้ บทบาทของเครือข่ายแวนจะทำให้ทุกบริษัท ทุกองค์การทุกหน่วยงานเชื่อมโยงเครือข่าย คอมพิวเตอร์ของตนเองเข้าสู่เครือข่ายกลาง  เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน  และการทำงานร่วมกัน ในระบบที่ต้องติดต่อสื่อสารระหว่างกัน         
เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย  มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม  เส้นใยนำแสง  คลื่นไมโครเวฟ  คลื่นวิทยุ  สายเคเบิล ทั้งที่วางตามถนนและวางใต้น้ำ  เทคโนโลยีของการเชื่อมโยง ได้รับการพัฒนาไปมากแต่ยังไม่พอเพียงกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว




เทคโนโลยีเครือข่ายแลน         

1.อีเทอร์เน็ต (Ethernet) 
        อีเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากโครงสร้างการเชื่อมต่อแบบสายสัญญาณร่วมที่เรียกว่า บัส (Bus)  โดยใช้สายสัญญาณแบบแกนร่วม คือ สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นตัวเชื่อม  สำหรับระบบบัส เป็นระบบ เทคโนโลยีที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเชื่อมโยงเข้ากับสายสัญญาณเส้นเดียวกัน คือ เมื่อมีผู้ต้องการส่งข้อมูล  ก็ส่งข้อมูลได้เลย  แต่เนื่องจากไม่มีวิธีการค้นหาเส้นทางที่ส่งว่างหรือเปล่า  จึงไม่ทราบว่ามีอุปกรณ์ใดหรือคอมพิวเตอร์ เครื่องใดที่ส่งข้อมูลมาในช่วงเวลาเดียวกัน  จะทำให้เกิดการชนกันขึ้นและเกิดการสูญหายของข้อมูล  ผู้ส่งต้องส่งข้อมูล ไปยังปลายทางอีกครั้งหนึ่ง  ทำให้เสียเวลามาก จึงมีการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์กลางที่เรียกว่า ฮับ (Hub)   และเรียกระบบใหม่นี้ว่า เทนเบสที (10 base t)  โดยใช้สายสัญญาณที่มีขนาดเล็กลงและราคาถูกซึ่งเรียกว่า  สายคู่บิตเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded twisted    pair : UTP) ทำให้การเชื่อมต่อนี้ มีลักษณะแบบดาว
วิธีการเชื่อมแบบนี้จะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ฮับ  ใช้สายสัญญาณไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์อื่น ๆ   จุดเด่นของดาวตัวนี้ จะอยู่ที่ เมื่อมีการส่งข้อมูล  จะมีการตรวจสอบความผิดพลาดว่า อุปกรณ์ใดจะส่งข้อมูลมาบ้างและจะมีการสับสวิตซ์ให้ส่ง ได้หรือไม่  แต่เมื่อมีฮับเป็นตัวแบกภาระทั้งหมด ก็มีจุดอ่อนได้คือ ถ้าฮับเกิดเป็นอะไรขึ้นมา  อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ  หรือคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้อีก
ภายในฮับมีลักษณะเป็นบัสที่เชื่อมสายทุกเส้นเข้าด้วยกัน  ดังนั้นการใช้ฮับและบัสจะมีระบบการส่งข้อมูลแบบ เดียวกัน และมีการพัฒนาเป็นมาตรฐาน  กำหนดชื่อมาตรฐานนี้ว่า 802.3  ความเร็วในการส่งกำหนดไว้ที่ 10 ล้านบิตต่อ วินาที  และกำลังมีมาตรฐานใหม่ให้สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที

2.โทเก็นริง        
โทเก็นริง เป็นเครือข่ายที่บริษัท ไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น  รูปแบบการเชื่อมโยงจะเป็น วงแหวน โดยด้านหนึ่งเป็นตัวรับสัญญาณและอีกด้านหนึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณ  การเชื่อมต่อแบบนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถส่งข้อมูลถึงกันได้  โดยผ่านเส้นทางวงแหวนนี้    การติดต่อสื่อสารแบบนี้จะมีการจัดลำดับให้ผลัดกันส่งเพื่อว่าจะได้ไม่สับสน และมีรูปแบบ ที่ชัดเจน โทเก็นริงที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้มีความเร็วในการรับส่งสัญญาณได้ 16 ล้านบิตต่อวินาที  ข้อมูลแต่ละชุดจะมี การกำหนดตำแหน่งแน่นอนว่ามาจากสถานีใด และจะส่งไปที่สถานีใด 

3.สวิตชิง 
           สวิตชิง เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาเพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลระหว่างสถานีทำได้เร็วยิ่งขึ้น    การคัดเลือกชุดข้อมูล ที่ส่งมาและส่งต่อไปยังสถานีปลายทาง   จะกระทำที่ชุมสายกลางที่เรียกว่า  สวิตชิง  รูปแบบของเครือข่ายแบบนี้จะมีลักษณะ เป็นแบบดาว ซึ่งโครงสร้างนี้จะเหมือนกันกับแบบอีเทอร์เน็ตที่มีฮับเป็นศูนย์กลาง  แต่แตกต่างกันที่ฮับเป็นจุดร่วมของสาย สัญญาณที่จะต่อกระจายไปยังทุกสาย  แต่สวิตชิงจะเลือกการสลับสัญญาณไปยังตำแหน่งที่ต้องการเท่านั้น  สวิตชิงจึงมีข้อดี กว่าฮับเนื่องจากแต่ละสายสัญญาณจะมีความเป็นอิสระต่อกันมาก  ทำให้รับส่งสัญญาณไม่มีปัญหาเรื่องการชนกัน ของข้อมูล  อุปกรณ์ที่ใช้ในการสวิตชิงมีหลายแบบ เช่น อีเทอร์เน็ตสวิตซ์ และเอทีเอ็มสวิตซ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น