วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หน่วยความจำสำรอง

หน่วยความจำสำรอง
(Secondary Memory unit หรือ Secondary Storage หรือ External Storage)


หน่วยความจำรองหรือหน่วยเก็บข้อมูล (Storage) มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ไว้ และสามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกตามต้องการ
หน่วยความจำรอง เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้ ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก เป็นหน่วยเก็บข้อมูลถาวรที่ผู้ใช้สามารถย้ายข้อมูลและคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำแรม ขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานมาจัดเก็บไว้ได้ด้วยคำสั่งบันทึกของโปรแกรมประยุกต์ ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลและคำสั่งมาใช้ในภายหลัง
หน่วยความจำรองมีความจุข้อมูลมากกว่าหน่วยความจำหลักและมีราคาถูกกว่า แต่เข้าถึงข้อมูลได้ช้ากว่าหน่วยความจำแรม อุปกรณ์หน่วยความจำรองที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้ 

1. แผ่นบันทึก (floppy disk หรือ diskette) 
ไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีเครื่องขับแผ่นบันทึกอย่างน้อยหนึ่งตัว แผ่นบันทึกที่ใช้ในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว ตัวแผ่นบันทึกเป็นแผ่นบางฉาบผิวด้วยสารแม่เหล็กอยู่ในกรอบพลาสติกแข็ง เพื่อป้องกันการขีดข่วน  

1.1 ระบบการทำงานของฟลอปปี้ดิสก์
เทียบกับฮาร์ดดิสก์ โดยตัวจานหมุนจะเป็นวัสดุที่อ่อนนิ่ม เช่น ไมลาร์ (Mylar) ที่เป็นพลาสติกสังเคราะห์เคลือบสารแม่เหล็กเอาไว้ ในดิสก์ 1 แผ่นจะมีจานเดียว หัวอ่านจะเลื่อนเข้าไปอ่านข้อมูลและจะสัมผัสกับแผ่นดิสก์โดยตรง ทำให้แผ่นมีการสึกหรอได้ง่าย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจะมีการส่งสัญญาณไปเปลี่ยนแปลงค่าสนามแม่เหล็กที่หัวอ่าน เมื่อตัวไดรว์ของดิสก์อ่านข้อมูลได้แล้วจะทำการส่งต่อให้กับคอนโทรลเลอร์ควบคุมแบบอนุกรมทีละบิตต่อเนื่องกัน ขณะที่ฟลอปปี้ไดรว์ทำงาน อุปกรณ์อื่น ๆ ต้องหยุดรอ ทำให้การทำงานของระบบเกือบจะหยุดชะงักไป ที่มุมด้านหนึ่งของฟลอปปี้ดิสก์จะมีกลไกป้องกันการเขียนทับข้อมูล (write-protect) หากเป็นแผ่น 5.25 นิ้ว จะเป็นรอยบากซึ่งหากปิดรอยนี้จะไม่สามารถเขียนข้อมูลได้ ต่างกับ ดิสก์ 3.5 นิ้ว ที่จะเป็นสลักพลาสติกเลื่อนไปมา หากเลื่อนเปิดเป็นช่องจะบันทึกไม่ได้

floppy disk ขนาด 3.5 นิ้ว


floppy disk ขนาด 5.5 นิ้ว

1.2  ความจุของฟลอปปี้ดิสก์แบบต่าง ๆ
ขนาด
แบบที่เรียกว่า
ด้านที่บันทึก
ความจุข้อมูล
5.2นิ้ว
Single sided-Double Density
1
160/180 KB
5.2นิ้ว
Double sided-Double Density
2
320/360 KB
5.2นิ้ว
HD(High Density)
2
1.2 MB
3.5 นิ้ว
Double sided-Single Density
2
720 KB
3.5 นิ้ว
Double sided-High Density
2
1.44 MB
3.5 นิ้ว
Double sided-Quad Density
2
2.88 MB
3.5 นิ้ว
Floptical Disk
2
120 MB










                          2. ฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์ ทำจากแผ่นจานแม่เหล็กวางซ้อนกันหลาย ๆ แผ่น โดยที่ทุกแทรกและเซกเตอร์ที่มีตำแหน่งตรงกันของฮาร์ดดิสก์ในชุดหนึ่งจะเรียกว่าไซลินเดอร์ แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนเร็วมาก โดยที่หัวอ่านและบันทึกจะไม่ไปสัมผัสกับผิวของจานแม่เหล็ก ดังนั้นหากหัวอ่านและบันทึกมีฝุ่นสะสมอยู่มาก หัวอ่านและบันทึกจะไปสัมผัสกับผิวของจานแม่เหล็ก ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการเรียกใช้ข้อมูลหรือเกิดความเสียหายได้ 


ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ 
          ฮาร์ดดิสก์ประกอบไปด้วยส่วนประกอบมากมายซึ่งต่อกันด้วยระบบกลไกทางจักรกล ผิดกับส่วนประกอบอื่นๆที่มีแต่ชิปอิเล็กทรอนิกต่อกันบนแผ่นวงจรไฟฟ้า ฮาร์ดดิสก์ทำมาจากแผ่นจานเหล็กกลมๆที่เคลือบสารแม่เหล็ก ไว้สำหับเก็บข้อมูล ( platter ) ซ้อนกันหลายๆชั้น ขึ้นอยู่กับความจุ โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ที่ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานเหล็กนี้ โดยจะมีแขนที่มีหัวอ่านข้อมูล ติดอยู่ตรงปลาย (Actuator) ทำหน้าที่อ่านข้อมูลจากจานเหล็ก ที่หมุนอยู่ด้วยความเร็วคงที่ ซึ่งความเร็วที่ว่านี้เราจะเรียกว่า "ความเร็วรอบ"
-          - แขนของหัวอ่าน (Actuator Arm) ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ในการหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ( Controller ) ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล และใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล แต่ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วย Voice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่าStepping Motor



-          - หัวอ่าน (Head) เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูล มีขนาดเล็กและมีความซับซ้อน จึงมีราคาแพง ภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์(Controller) จะนำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น

-          - แผ่นจานแม่เหล็ก (Platters) จะมีลักษณะเป็นจานเหล็กกลมๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุและจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น 0 และเพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานเหล็กนี้ ปกติฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวจะมีแผ่นดิสก์ประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน

-          - มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก (Spindle Moter) เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งสำคัญอย่างมากต่อความเร็วในการหมุนของฮาร์ดดิสก์ เพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วนี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) ถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์รุ่นเก่าจะหมุนด้วยความเร็วเพียง 3,600 รอบ/นาที ต่อมาพัฒนาเป็น 7,200 รอบ/นาที และปัจจุบันหมุนได้เร็วถึง 10,000 รอบ/นาที การพัฒนาให้ฮาร์ดดิสก์หมุนเร็วจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น

-           - เคส (Case) มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้บรรจุกลไกต่างๆ ภายในแผ่นดิสก์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออง

2.1    ประวัติของฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์นั้นถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2499 (1956) โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน ซึ่งในขณะนั้น ฮาร์ดดิสก์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 20 นิ้ว มีความจุเพียงระดับ  เมกะไบต์เท่านั้น  (เทียบกับระดับกิกะไบต์ในปัจจุบัน ซึ่ง 1,000 MB = 1 GB ) ตอนแรกใช้ชื่อว่า ฟิกส์ดิสก์ (fixed disk หรือจานบันทึกที่ติดอยู่กับที่) หรือ วินเชสเตอร์(Winchesters) ต่อมาภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์(จานบันทึกแบบแข็ง) เพื่อจำแนกประเภทออกจาก ฟลอปปี้ดิสก์ (จานบันทึกแบบอ่อน)

2.2  การควบคุมฮาร์ดดิสก์
Hard Disk จะสามารถทำงานได้ต้องมีการควบคุมจาก CPU โดยจะมีการส่งสัญญาณการใช้งานไปยัง Controller Card ซึ่ง Controller Card แบ่งออกได้ประมาณ 5 ชนิด แต่มีเพียง 3 ชนิดที่ยังคงมีและใช้อยู่ในปัจจุบัน
2.2.1 IDE (Integrated Drive Electronics)
ฮาร์ดดิสก์แบบ IDEเป็นมาตรฐานที่ไดรับความนิยมอย่างสูง แต่ก็ยังมีความจุของข้อมูลและความเร็วในการทำงานเทียบกับฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI ไม่ได้ แต่ด้วยการพัฒนาที่รวดเร็วและต่อเนื่องกว่า จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE มีความจุและความเร็วเข้าใกล้ฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI  มากขึ้น

2.2.2 SCSI (Small Computer System Interface)
เหมาะที่จะใช้สำหรับเครื่องประเภทเครื่องแม่ข่าย (Server ) มากกว่าเครื่องที่ใช้ตามบ้านเนื่องจากมีราคาแพงและการติดตั้งที่ยุ่งยากกว่า เพราะจะต้องมีการติดตั้งการ์ดควบคุมเพิ่มเติม 




2.2.3 Serial ATA (Advanced Technology Attachment) หรือ SATA
Serial ATA มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub มีจำนวน pin น้อยกว่า Parallel ATA


การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ 
- ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุและความเร็วเหมาะสมกับลักษณะงานที่ใช้ เช่น งานพิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง และเล่นอินเทอร์เน็ต ควรมีความจุ 0-10 GB/5,400 RPM งานกราฟิก ตกแต่งภาพความละเอียดสูง เล่นเกม ความจุ 200-250 GB/7,200 RPM และงานสร้างมัลติมีเดีย
- ตัดต่อเสียงและวีดิโอ ควรมีความจุตั้งแต่ 320 GB ขึ้นไป/10,000 RPM เป็นต้น 
- ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีการรับประกัน 

การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์
1.       ควรสแกนหาไวรัสเป็นประจำทุกสัปดาห์ หรือติดตั้งดปรแกรมสแกนไวรัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์และปรับปรุงโปรแกรมสแกนไวรัสอยู่เสมอ 
2.       ควรลบไฟล์ขยะเป็นประจำทุกวันหรือทุกสัปดาห์ โดยการเรียกใช้โปรแกรมอรรถประโยชน์ของวินโดว์ ได้แก่ Disk Cleanup 
3.       ควรสแกนดิสก์หาพื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่บกพร่อง ซึ่งมักเกิดจากการปิดเครื่องโดยไม่ได้ Shut down หรือไฟดับกะทันหัน ซึ่งทำได้โดยการเรียกใช้โปรแกรม Check Disk 
4.        ควรจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ให้เป็นระเบียบ เพื่อเพิ่มเนื้อที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์และเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ได้รวดเร็วขึ้น โดยการเรียกใช้โปรแกรมยูทิลิที้ของวิโดวส์ได้แก่ Disk Defragmenter ซึ่งควรทำอย่างน้อยเดือนละครั้ง 

                        3. ออปติคัลดิสก์ 
ออปติคัลดิสก์ เป็นหน่วยความจำรองที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ในการบันทึกข้อมูล ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากกว่าฮาร์ดดิสก์ธรรมดา ออกติคัลดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้ 
3.1 ซีดีรอม (CD-Rom : Compact Disk-Read-Only Memory) เป็นหน่วยความจำรองที่บันทึกได้เพียงครั้งเดียว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้รวมทั้งไม่สามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้ ซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรกสุดนั้นมีความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ 150 กิโลไบต์ต่อวินาที เรียกว่า มีความเร็ว 1 เท่าหรือ 1X ซึ่งซีดีรอมไดร์ฟรุ่นหลัง ๆ ก็จะอ้างอิงความเร็วใจการอ่านข้อมูลจากรุ่นแรกเป็นหลัก เช่น ความเร็ว 52 เท่า (52X) เป็นต้น 

3.2 ซีดีอาร์ (CD-R : Compact Disk Recordable) เป็นหน่วยความจำรองที่เขียนข้อมูลลงแผ่นแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้ แต่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นเดิมได้จนกระทั่งแผ่นเต็ม 

3.3 ซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW : Compact Disk Rewrite) หน่วยความจำที่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น และสามารถเขียนข้อมูลใหม่ทับลงในแผ่นเดิม หรือผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเนื้อหาต่าง ๆ ภายในแผ่นซีดีอาร์ดับบลิวได้คล้ายแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ 

3.4 ดีวีดี (DVD : Digital Video Disk) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมแทนแผ่นซีดี เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลมาใช้มากขึ้น ซึ่งดีวีดีหนึ่งแผ่น สามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 4.7 กิโลไบต์ นิยมใช้บันทึกภาพยนตร์ หลังจากที่บันทึกข้อมูลลงแผ่นดีวีดีแล้ว ผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดีวีดีมี 3 ชนิดได้แก่ 
 1) ดีวีดีรอม (DVD-ROM) ส่วนมากใช้กับการเก็บภาพยนตร์ที่มีความยาวเกินกว่าสองชั่วโมง 

2) ดีวีดี-อาร์ (DVD-R) ใช้ในการเก็บข้อมูลที่มีปริมาณมาก และราคาสูงกว่าดีวีดีรอม 

3) ดีวีดี-อาร์ดับบลิว (DVD-RW) เป็นเทคโนโลยีแบบแสงมีเครื่องอ่านดีวีดีแรมที่ให้ผู้ใช้บันทึก ลบ และบันทึกข้อมูลซ้ำลงบนแผ่นเดิมได้ 

3.5 บลูเรย์ดิสก์ (Blue Ray Disk) เป็นเทคโนโลยีแบบแสงล่าสุดที่สามารถบันทึกข้อมูลความละเอียดสูงได้ถึง 100 กิกะไบต์ ให้ภาพและเสียงที่คมชัด มักนำไปใช้ในการบันทึกภาพยนตร์ แต่แผ่น บลูเรย์ดิสก์จะมีราคาแพง 

คุณสมบัติของดีวีดี
-          - สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 133 นาที
-         - การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2 นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 4 : 0 : 1
-          - สามารถมีเสียงในฟิล์มได้มากถึง 8 ภาษา โดยในแต่ละภาษาอาจจะเป็นระบบเสียงสเตอริโอ หรือ ระบบเสียงรอบทิศทาง ในรูปแบบ Dolby Digital (AC-3) หรือ Digital Theater System (DTS)
-          - มีคำบรรยาย (Subtitle) ได้มากสูงสุดถึง 32 ภาษา
-          - ภาพยนตร์ดีวีดีบางแผ่นนั้น สามารถเปลี่ยนมุมกล้องได้ด้วย (Multiangle)
-          - สามารถทำภาพนิ่งได้สมบูรณ์เหมือนภาพสไลด์
-          - ควบคุมระดับสิทธิการเล่น (Parental Lock)
-          - มีรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes)

การเลือกซื้อออปติคัลดิสก์
        1. ควรซื้อแผ่นที่ใส่ในหลอดแผ่นซีดี แบบ 50 แผ่น ไม่ควรซื้อแบบใส่ซองพลาสติก แบบซ้อนกันขาย เนื่องจากอาจเกิดรอยขีดข่วนบนแผ่นได้
        2. ควรเลือกสีเคลือบด้านบนที่เป็นมันวาว จะไม่สึกกร่อนง่าย
การดูแลรักษาออปติคัลดิสก์
        1. เก็บแผ่นไว้ในกล่องหรือซองที่มิดชิด เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและรอยขีดข่วน
        2. ควรเช็ดทำความสะอาดแผ่นก่อนใช้
        3. ควรตรวจเช็คว่าแผ่นซีดีนั้นยังสามารถอ่านได้อยู่เสมอ และประมาณ 2 ปี ควรนำแผ่นข้อมูลสำคัญมาบันทึกใหม่ 

                4.  แฟลชไดรฟ์ (Flash Drive)
แฟลชไดรฟ์ หรือ ยูเอสบีไดรฟ์ เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลโดยใช้หน่วยความจำแบบแฟลช ทำงานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีลักษณะเล็ก น้ำหนักเบาเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน (Drive) สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB 
ปัจจุบันความจุของไดร์ฟมีตั้งแต่ 8, 16, 32, 64, 128 จนถึง 1024 เมกะไบต์ ทั้งนี้ยังมีไดร์ฟลักษณะเดียวกัน ในปัจจุบัน บางรุ่นมีความจุสูงถึง16 GB โดยทั่วไปไดรฟ์จะทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการ รู้จักกันในชื่อต่างๆ รวมถึงทัมบ์ไดรฟ์”    “คีย์ไดรฟ์”   “จัมป์ไดรฟ์” และชื่อเรียกอื่น โดยขึ้นอยู่กับผู้ผลิต
ส่วนประกอบพื้นฐานภายในแฟลชไดรฟ์

1              USB connector
2              USB mass storage controller device
3              Test points
4              Flash memory chip
5              Crystal oscillator
6              LED
7              Write-protect switch
8              Unpopulated space for second flash memory chip

ชื่อเรียกของแฟลชไดรฟ์ 
(รวมถึงคำว่าแฟลชไดรฟ์) ไม่มีชื่อพื้นฐานที่กำหนด โดยผู้ผลิตได้ตั้งชื่อเป็นโมเดลของตัวเอง ซึ่งได้แก่
-          คีย์ไดรฟ์ (key drive)
-          จัมป์ไดรฟ์ (jump drive) เครื่องหมายการค้าของเล็กซาร์
-          ดาต้าคีย์ (data key)
-          ทราเวลไดรฟ์ (travel drive) เครื่องหมายการค้าของ เมโมเร็กซ์
-          ทัมบ์ไดรฟ์ (thumb drive)
-          ทัมบ์คีย์ (thumb key)
-          เพนไดรฟ์ (pen drive)
-          ฟิงเกอร์ไดรฟ์ (finger drive)
-          แฟลชไดรฟ์ (flash drive)
-          แฟลชดิสก์ (flash disk)
-          เมโมรีไดรฟ์ (memory drive)
-          ยูเอสบีไดรฟ์ (usb drive)
-          ยูเอสบีคีย์ (usb key)

               5. เทคโนโลยี HD-DVD
HD DVD ( High Definition DVD หรือ High Density DVD ) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง ( optical disc ) ที่ใช้บันทึกวิดีโอความละเอียดสูง ( high definition ) หรือข้อมูลชนิดอื่นๆ ก็ได้ HD DVD มีลักษณะใกล้เคียงกับ Blu-ray ซึ่งเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลคู่แข่ง โดยใช้ขนาดแผ่นเท่ากับซีดีรอม

5.1    ประวัติของ HD DVD
HD DVD ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมหลายบริษัท เช่น โตชิบา, NEC, ซันโยไมโครซอฟท์ และอินเทล รวมถึงบริษัทภาพยนตร์อย่าง Universal Studios โตชิบายังได้ออกวางขายเครื่องเล่นแผ่น HD DVD เครื่องแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2006

5.2    ความจุของ HD DVD
HD DVD แบบเลเยอร์เดียวจุข้อมูลได้ 15GB และ 30GB สำหรับแบบสองเลเยอร์ โตชิบาได้ประกาศว่าจะผลิตแผ่นแบบ 3 เลเยอร์ที่จุได้ 45GB ในตัวแผ่น HD DVD สามารถใส่ข้อมูลชนิดดีวีดีแบบเดิม และ HD DVD ได้พร้อมกัน การอ่านข้อมูลใช้เลเซอร์ความยาวคลื่นแสงสีฟ้า (405นาโนเมตร )
ชั้นข้อมูลจะถูกบันทึกถัดไปจากพื้นผิว 0.6 มิลลิเมตรเช่นเดียวกับดีวีดีทั่วไป เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลวิดีโอคือ MPEG-2, Video Codec 1 และ H.264/MPEG-4 AVC สนับสนุนระบบเสียงแบบ7.1 ในส่วนความละเอียดของภาพนั้นขึ้นกับจอภาพที่ใช้ด้วย แต่สามารถขึ้นได้ที่ความละเอียดสูงสุด 1080p

5.3    HD DVD Player

6. Floptical Disk
เป็นการนำเทคโนโลยีด้านแสงเข้ามาช่วยในการบันทึกข้อมูล แต่ไม่ได้ใช้แสงโดยตรง ลักษณะ Floptical disk จะมีรูปร่างเหมือนฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วทุกประการ แต่มีความจุมากขึ้นเป็น 120 เมกะไบต์ และตัวไดรว์ยังใช้อ่านเขียนข้อมูลแผ่นดิสก์ธรรมดาได้ด้วย 

6.1 หลักการของ Floptical Drive
หลักการของ Floptical Drive อาศัยการบันทึกข้อมูลด้วยสนามแม่เหล็กเหมือนฟล็อปปี้ดิสก์ธรรมดา แต่ใช้กลไกการอ่านที่เรียกว่า optical servo หรือวงจรเลื่อนตำแหน่งหัวอ่านควบคุมด้วยแสง ทำให้สามารถเลื่อนหัวอ่าน/เขียนได้ตรงกับแทรคที่มีความหนาแน่นกว่าดิสเก็ตธรรมดามาก

       7. ZIP drive 
พอสมควร Zip Drive มีทั้งรุ่นที่ต่อกับParallel port,USB port และแบบ SCSI และได้เพิ่มความจุจาก 100 เป็น 250 เมกะไบต์Iomega ยังได้ผลิต Jaz Drive ที่มีลักษณะเหมือนฮาร์ดดิสก์ถอดได้ โดยจะมีตัวไดรว์เป็นระบบSCSI เท่านั้น และมีแผ่นบรรจุข้อมูลขนาด 1 GB และ 2 GB นิยมใช้สำหรับการสำรองข้อมูลย้ายไปมา เนื่องจากมีความเร็วน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ และยังมีราคาแพงกว่า Zip หรือ Superdisk มาก

     8. เทปแบ็คอัพ ( Tape Backup ) 
เป็นอุปกรณ์สำหรับการสำรองข้อมูล ซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลทีมีขนาดใหญ่ๆ ระดับ 10-100 กิกะไบต์

    9. การ์ดเมมโมรี ( Memory Card )  
เป็นสื่อจัดเก็บข้อมูลประเภทหน่วยความจำสำรองแบบ flash memory ประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลลงไปได้โดยที่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ ข้อมูลไม่มีการสูญหายเมื่อปิดสวิตซ์  มีความเร็วสูงในการขนถ่ายเคลื่อนย้ายข้อมูล  ส่วนที่ใช้บันทึกข้อมูลของเมมโมรี่การ์ดจะเป็นชิป ซึ่งเรียกว่า solid state chips ซึ่งใช้กระบวนการทางไฟฟ้าในการบันทึกข้อมูล  และมีตัวควบคุมการอ่านและเขียนในตัว
การ์ดเมมโมรี ( Memory Card )   พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่างๆ เช่น กล้องดิจิทัล คอมพิวเตอร์มือถือ ( Personal Data Assistant PDA) โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ปัจจุบันมีเมมโมรี่การ์ดมากมายหลากหลายแบรนด์ และขนาดความจุ

แมมโมรีการ์ดแบบต่างๆ



(ที่มา : http://www.radompon.com/ictelearning/contentictm1/u01/u106.html)






ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ด้านการศึกษา 

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการศึกษา
1. การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลหรือไม่สะดวกในการเดินทางสามารถได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับผู้ที่อยู่ในเมือง
2. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ภาษาต่างประเทศ ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจมากขึ้น และเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น การแสดงสถาณการณ์จำลอง แบบจำลอง ภาพเคลื่อนไหว แสงสีและเสียงประกอบ นักเรียนสามารถเตรียมตัวก่อนเรียน หรือทบทวนบทเรียนด้วยตนเองเมื่อใดก็ได้ที่มีเวลาว่าง
3. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับผู้พิการทางสายตาหรือหู


ด้านการแพทย์และสาธารณสุข 
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มตั้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ ( EMI scanner ) ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง เช่น ดูเนื้องอกพยาธิเลือดออกในสมอง และต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่า ซีเอที ( CAT-Computerized Axial Tomography scanner: CAT scanner ) ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ ร่างกายของมนุษย์ ถ่ายเอ็กซเรย์และเครื่องรับแสงเอกซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอ็กซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านการแพทย์และสาธารณสุข 



ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม เช่น การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ทำงานบ้าน และหุ่นยนต์เพื่องานอุตสาหกรรมที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรงงาน สารเคมี โรงผลิตและควบคุมการจ่ายไฟฟ้า รวมถึงงานที่ต้องทำซ้ำๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ และโรงงานแบตเตอรี่ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการผลิตและควบคุมคุณภาพสินค้า การส่งสินค้าตามใบสางสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และการคิดราคาต้นทุนสินค้า ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านอุตสาหกรรม


ด้านการเงินการธนาคาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินและธนาคาร โดยใช้ช่วยงานด้นบัญชี การฝากถอนเงิน โอนเงิน บริการสินเชื่อ แลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารการธนาคาร การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่วไป เช่น บริการฝากถอนเงิน การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วต่อการดำเนินธุรกิจต่างๆ


ด้านความมั่นคง
มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรสื่อสารทหาร การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ การส่งดาวทียมและการคำนวณวิถีการโคจรของจรวดไปสู่อวกาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทยมีศูนย์ประมวลข่าวสาร มีระบบมีระบบจัดทำระเบียนปืน ทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสืบสวนคดีต่างๆ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก้านความมั่นคง

ด้านการคมนาคม 
มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง เช่น การเดินทางโดยรถไฟมีการเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่นั่งไปยังทุกสถานีทำให้สะดวกต่อผู้โดยสาร
การเช็คอินของสายการบิน ได้จัดทำเครื่องมือที่สะดวกต่อลูกค้า ในรูปแบบของการเช็คอินด้วยตนเอง 

ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม 
มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ หรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยการคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง ตัวอย่างซอฟแวร์การเกิดแผ่นดินไหว 

ด้านการพาณิชย์ 
องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน ทำให้การประสานงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานในองค์กร หรือระหว่างองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ปรับปรุงการให้บริการกับลูกค้าซึ่งเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีขององค์กรต่อลูกค้าทั่วไป สิ่งเหล่านี้นับเป็นการสร้างโอกาสความได้เปรียบแช่งขันให้กับองค์กร ตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในด้านการพาณิชย์ เช่น การให้บริการชำระค่าสินค้าบริการ การสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต และการตรวจสอบราคาสินค้าผ่านเครื่องอ่านราคาสินค้า